การให้บริการผู้ป่วยนอก
- สถานที่ตั้ง: ชั้น 1 ตึกสว. 2 (ตรงข้ามตึกสว. 1)
- สถานที่ใกล้เคียง: ตึกสว. 1, ห้องตรวจผู้ป่วยนอกโรคเด็ก
- เวลาที่ให้บริการในเวลาราชการ:
- วันจันทร์ ถึงวันพุธ และวันศุกร์ เริ่มให้บริการตั้งแต่เวลา 8.30 น. ปิดให้บริการทุกวันพฤหัสบดี แต่ยังรับบริการผู้ป่วยฉุกเฉิน
- เวลาที่ให้บริการนอกเวลาราชการ (คลินิกบูรณาการ/คลินิกพิเศษ):
- วันจันทร์-วันศุกร์ : เวลา 16.30-19.30 น. วันเสาร์: เวลา 8.00 - 12.00 น.
- สถานที่ตั้งของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- งานเวชระเบียนและสถิติ: อยู่หลังพระรูปพระราชบิดาและสมเด็จย่า
- ห้องการเงิน: อยู่ที่ชั้น 2 ตึกสว. 2 (เหนือห้องตรวจหูคอจมูก)
- ห้องยา: อยู่ที่ชั้น 2 ตึกสว. 2 (เหนือห้องตรวจหูคอจมูก)
- หน่วยตรวจสอบสิทธิ์: ห้องงานเวชระเบียนและสถิติ (ข้อ 1) และชั้น 2 ตึกสว.2
- แบ่งขั้นตอนการให้บริการเป็นจุดบริการดังต่อไปนี้
- จุดที่ 1: ยื่นบัตรนัด จัดคิว
ผู้ป่วยเก่าที่ไม่ได้นัด หรือมาไม่ตรงวันนัด และผู้ป่วยใหม่ ให้ติดต่อหน่วยเวชระเบียน ท่านจะได้รับการ ตรวจสอบสิทธิ์พร้อมทั้งการเปิดระบบการเข้ารับการตรวจรักษา โดยท่านจะได้รับเอกสารสีเขียวอ่อนจากเจ้า หน้าที่เวชระเบียน แล้วให้ท่านนำใบเอกสารสีเขียวนั้นยื่นที่จุดยื่นบัตรห้องตรวจหูคอจมูก
ผู้ป่วยที่มีบัตรนัดและมาตรงตามนัด ติดต่อยื่นรับบัตรนัดที่กล่องรับบัตรก่อนเวลานัดประมาณ 30 นาที พร้อมแจ้งสิทธิ์การรักษาของท่านต่อเจ้าหน้าที่รับบัตรนัดทุกครั้ง
เจ้าหน้าที่จะทำการจัดคิวตามรายละเอียดดังนี้
คิวผู้ป่วยที่มาตามนัดของอาจารย์แพทย์เจ้าของไข้ ซึ่งในแต่ละวันจะมีอาจารย์แพทย์ออกตรวจ ประมาณ 3-4 ท่าน ผู้ป่วยที่มาตามนัดของอาจารย์แพทย์จะได้รับบัตรคิวสีเหลือง บัตรคิวสีชมพู รบัตร คิวสีเขียวเข้ม และบัตรคิวสีม่วงเข้ม
ผู้ป่วยที่มาตามนัดของแพทย์ใช้ทุน/แพทย์ประจำบ้าน ซึ่จะได้รับบัตรคิวสีขาว ผู้ป่วยใหม่และผู้ป่วยที่มาไม่ตรงนัด จะได้รับบัตรคิวสีเขียวอ่อน
ผู้ป่วยที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปจะได้รับบัตรคิวสีม่วงเข้ม ผู้ป่วยเด็กอายุไม่เกิน 2 ปีจะได้รับบัตรคิว สีน้ำเงิน ผู้ป่วยสวัสดิการมหาวิทยาลัยขอนแก่นจะได้รับบัตรคิวสีฟ้า ผู้ป่วยพระภิกษุ-ภิกษุณีจะได้รับบัตร คิวสีส้ม ผู้ป่วยที่มีภาวะเร่งด่วนจำเป็นต้องได้รับการตรวจรักษาอย่างเร่งด่วน จะได้รับบัตรคิวสีชมพูเข้ม
โดยเจ้าหน้าที่จะได้แนบบัตรคิวเข้ากับแฟ้มประวัติผู้ป่วย จากนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการลงทะเบียนผู้ป่วย เข้าสู่โปรแกรมระบบโรงพยาบาล เมื่อลงทะเบียนผู้ป่วยเข้าสู่ระบบโรงพยาบาลเรียบร้อยแล้วจะส่งแฟ้มประวัติ ให้กับจุดที่ 2 ต่อไป
- จุดที่ 2: ซักประวัติ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต
หลังจากได้รับการจัดคิวเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะเรียกผู้ป่วยชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต และซัก ประวัติอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น พร้อมลงบันทึกในแฟ้มประวัติของท่าน จากนั้นเจ้าหน้าที่จะนำข้อมูลที่ได้ลงใน โปรแกรมระบบโรงพยาบาลอีกครั้ง
หากท่านต้องได้รับการตรวจได้ยินก่อนพบแพทย์ เจ้าหน้าที่จะแนะนำให้ท่านนำประวัติไปตรวจการ ได้ยินที่ห้องตรวจการได้ยินเสียก่อน
ในรายที่ผู้ป่วยต้องเจาะเลือดก่อนพบแพทย์ เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบการรายงานผลในโปรแกรม ระบบโรงพยาบาล เมื่อผลตรวจเลือดออกแล้ว เจ้าหน้าที่จึงจะแจกบัตรคิวให้ท่านเข้าพบแพทย์ โดยปกติการ รายงานผลตรวจต่างๆจะรายงานทางระบบโรงพยาบาลหลังท่านเจาะเลือดประมาณ 2-3 ชั่วโมง
- จุดที่ 3: นั่งรอเรียกชื่อเข้าห้องตรวจ
เมื่อผ่านจุดที่ 2 แล้ว ให้ท่านนั่งรอบริเวณผู้ป่วยนั่งรอตรวจ เจ้าหน้าที่จะเรียกเข้าตรวจตามลำดับคิว และตามอาการเร่งด่วน
ช่วงที่รอรับบัตรคิว ผู้ป่วยที่ใช้สิทธิบัตรทอง และบัตรประกันสังคม ที่ยังไม่ได้ตรวจสอบสิทธิ ให้ท่านไป ดำเนินการตรวจสอบสิทธิที่หน่วยเวชระเบียนให้ได้ใบสีเขียวอ่อนเพื่อใช้ในการแสดงสิทธิการรักษาของท่านเมื่อ ตรวจเสร็จ
ผู้ที่ยังไม่ได้รับประทานอาหารเช้า สามารถไปรับประทานอาหารก่อนได้
เวลาประมาณ 8.15 น. เจ้าหน้าที่จะเรียกชื่อผู้ป่วยเพื่อรับบัตรคิว ผู้ป่วยที่รับบัตรคิวแล้ว ให้นั่งรอภายใน ห้องรอตรวจ แพทย์จะเริ่มทำการตรวจรักษาประมาณเวลา 8.30 น. เป็นต้นไป
เนื่องจากรพ.ศรีนครินทร์มีการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับติดต่อให้ นักศึกษาแพทย์ซักประวัติและตรวจร่างกายโดยมีอาจารย์แพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด และตรวจซ้ำ พร้อมกับรับผิด ชอบดูแลเป็นแพทย์เจ้าของไข้ โดยเจ้าหน้าที่จะสอบถามความสมัครใจของผู้ป่วยก่อนทุกครั้ง
การให้บริการภายในห้องตรวจแพทย์จะทำการซักประวัติ อาการเจ็บป่วย และตรวจร่างกาย ผู้ป่วยบาง รายอาจต้องได้รับการตรวจระเอียดเพิ่มเติมนอกเหนือจากการตรวจที่โต๊ะตรวจเช่น การส่องกล้องตรวจลำคอ และกล่องเสียง การส่องกล้องตรวจโพรงจมูก การส่องกล้องตรวจหู หรือการเจาะก้อนส่งตรวจเซลล์เพื่อการ วินิจฉัยโรคเพิ่มเติม การทำแผล การฉีดยา การเปลี่ยนท่อหลอดลม โดยจะมีแพทย์และเจ้าหน้าที่ดูแลอย่าง ใกล้ชิด
- จุดที่ 4: ให้คำแนะนำหลังตรวจเสร็จ
เมื่อได้รับการตรวจหรือทำหัตถการเสร็จแล้ว ให้ถือแฟ้มประวัติ ติดต่อพยาบาลที่เคาน์เตอร์หน้าห้อง วางประวัติลงตะกร้าแดง แล้วนั่งรอเรียกชื่อ เพื่อรับบัตรนัด ใบนำทางเพื่อรับยา และฟังคำแนะนำขั้นตอนการ รักษาและการดูแลตนเอง ในกรณีที่มีการสั่งยา ให้นำใบนำทางเพื่อรับยายื่นที่ห้องจ่ายยาชั้น 2 ซึ่งอยู่เหนือ ห้องตรวจหูคอจมูก (ชั้น 2 สว.2)
- จุดที่ 5: ติดต่ออยู่รักษา
ในรายที่ผู้ป่วยต้องพักรักษาตัวภายในโรงพยาบาล ให้ยื่นประวัติและรับคำแนะนำการอยู่รักษาจาก พยาบาลที่จุดนี้เพิ่มเติม
ขอขอบพระคุณทุกท่านที่มาใช้บริการ
หากมีข้อสงสัย หรือต้องการให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะในการให้การบริการ
กรุณาติดต่อได้ที่ 043-366746, 043-366747 ในวันและเวลาราชการ